Menu

25 กันยายน 2564

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ "พลเมืองรุ่นใหม่ออกแบบกู้วิกฤติโลกร้อน"

9.30-12.30

จัดโดย Thai Climate Justice for All และเครือข่ายนักกิจกรรมรุ่นใหม่

พี่เลี้ยง

  • รศ. ดร. นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กลย์วัฒน์ สาขากร นักวิจัยอิสระ
  • สิรภพ บุญวานิช นักวิเคราะห์ข้อมูลภูมิอากาศ
  • สิทธิชาติ สุขผลธรรม, Climate Talk Thailand


ผู้ดำเนินการ

ศศินา ตั้งพิทยาเวทย์ นักรณรงค์ออนไลน์ Climate Talks Thailand/ Environmental Politics Group

ชมวิดีโอเนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนา

https://youtu.be/X1XXakP6n8g


แนวคิด

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสภาวะโลกร้อน/โลกร้อน เป็นปัญหาสภาพแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ อันมีที่มาจากการพัฒนาทุนอุตสาหกรรมบนฐานพลังงานฟอสซิลที่นำโดยประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นทุกมิติทั้งการเสียสมดุลของระบบนิเวศ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพกระทบความซึ่งเป็นฐานความมั่นคงอาหารของประชาชน ตามมาด้วยปัญหาเศรษฐกิจ สุขภาพ แม้กระทั่งปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดก็มีส่วนจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภูมิภาคอาเซียนก็เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ จากการจัดอันดับของ Global Climate Risk Index ปี 2021 ระบุว่าจากการเก็บข้อมูลในช่วงปี 2000-2019 ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศเมียนมามีความเสี่ยงเป็นอันดับ 2 ของโลก ฟิลิปปินส์ อันดับ 4 และไทยเป็นอันดับ 9

แต่เมื่อดูถึงอันดับประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด ในภูมิภาคอาเซียนก็มีประเทศที่ติดอันดับ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นอันดับ 10 ของโลก และเฉลี่ยการปล่อยก๊าซต่อหัวเป็นอันดับ 19 ของโลก แต่การเติบโตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและอาเซียนต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการลงทุนของทุนข้ามชาติ เขตการค้าเสรี และตลาดส่งออกสำคัญ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงไม่สามารถพิจารณาเพียงแค่บริบทของประเทศและภูมิภาค แต่ต้องดูภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงและระบบความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งปรากฏชัดว่า ภาคส่วนพลังงาน และอุตสาหกรรม ตามมาด้วยเกษตรพาณิชย์ ซึ่งทั้งหมดผูกขาดโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างก๊าซเรือนกระจก

เมื่อกลับมาพิจารณาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปรากฏว่า ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่กับฐานทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ป่า แม่น้ำ และชายฝั่งทะเล เกษตรกรรายย่อยที่ระบบการผลิตพึ่งพานิเวศธรรมชาติ ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของภูมิอากาศ และหากเชื่อมโยงผลกระทบด้านอื่นๆ จากสภาวะโลกร้อน เช่น ฝุ่น PM 2.5 การใช้สารเคมีจากปัญหาภาคเกษตร การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ฯลฯ จะยิ่งเห็นได้ชัดว่า คนชายขอบทั้งชนบทและเมืองเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง และมีความสามารถในการปรับตัวได้จำกัด

แม้จะมีหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่หน่วยงานเหล่านั้นยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบกลไกตลาดคาร์บอน มากกว่าจะจัดการต้นเหตุปัญหา คือ พลังงาน เกษตรพาณิชย์ อุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ทำลายระบบนิเวศและปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้แนวนโยบายของรัฐต่างๆ ไม่ได้ช่วยสนับสนุนความเข้มแข็งประชาชน แต่ยังเพิกเฉยต่อโครงสร้างปัญหาใหญ่

บทบาทการขับเคลื่อนต่อสู้ปัญหาสภาวะโลกร้อนจึงอยู่ที่ภาคประชาสังคม ซึ่งมีความหลากหลาย มีทั้งกลุ่มที่ทำงานกับชุมชนท้องถิ่นด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความมั่นคงอาหาร กลุ่มที่ทำงานกับประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม พลังงาน แต่พลังของประชาสังคมก็ยังมีจำกัด ยังไม่สามารถสร้างความตื่นตัวของสาธารณะได้มากนัก

ความสำคัญจึงอยู่ที่ของคนรุ่นใหม่ที่มีความตื่นตัวทางด้านสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนเกิดเป็นกระแสเคลื่อนไหวระดับโลก ดังนั้น การออกแบบอาเซียนใหม่ จำเป็นที่จะต้องอาศัยพลังของคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีพลังขับเคลื่อน ด้วยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้วิเคราะห์เชื่อมโยงปัญหาจากระดับท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติและโลก มองให้เห็นถึงปัญหาความไม่ยั่งยืนและไม่เป็นธรรมของการพัฒนาในภาคส่วนต่างๆ และเห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมต่อกับชุมชนท้องถิ่น ออกแบบแนวทางในการต่อสู้กับปัญหาตามบริบท ความเหมาะสมของพวกเขา และเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ขบวนการคนรุ่นใหม่เพื่อการขับเคลื่อนกู้วิกฤติสภาวะโลกร้อน 

เวทีอภิปราย “วิกฤตสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”  

13.00-14.30

จัดโดย The Asian Peoples' Movement on Debt and Development (APMDD), และ โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (Focus on the Global South: FOCUS)

ผู้อภิปราย

  • ความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศและการผลักดันต่ออาเซียน โดยลิดี้ แนคปิล (Lidy Nacpil), ขบวนการประชาชนเอเชียว่าด้วยหนี้และการพัฒนา (APMDD) ฟิลิปปินส์
  • ความยุติธรรมด้านภูมิอากาศสำหรับเยาวชนและคนรุ่นอนาคต โดยโรจอน เอนเทด (Rojohn Ented), Teduray, สมาคมเยาวชนและนักศึกษา Lambangian (TLYSA), ฟิลิปปินส์
  • มุมมองสตรีนิยมเกี่ยวกับความยุติธรรมด้านสภาพอากาศ โดยติติ ซวนโทโร (Titi Soentoro) องค์กร Aksi! เพื่อความยุติธรรมด้านเพศ สังคม และนิเวศวิทยา อินโดนีเซีย  https://youtu.be/KVOzUJPZAlM   
  •    ความยุติธรรมของสภาพภูมิอากาศในกรอบของศักดิ์ศรี พื้นที่ชีวิต และอาณาเขต โดยเฮนโดร ซังโรโย (Hendro Sangkoyo), โรงเรียนเศรษฐศาสตร์ประชาธิปไตย อินโดนีเซีย  

อุทยานสันติภาพสาละวิน (Salween Peace Park) – เส้นทางของชนพื้นเมืองสู่ความยุติธรรมด้านสภาพอากาศ โดย อเล็กซ์ ฉ่วย (Alex Shwe), เครือข่ายกะเหรี่ยงสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวทางสังคมกระเหรี่ยง (Karen Environmental and Social Action Network : KESAN)


ผู้ดำเนินการ

ชัลมาลี กุตตาล (Shalmali Guttal) Focus on the Global South 

วิดีโอจากเวทีนี้ 

https://youtu.be/YIHBfc39nGY 


เวทีเสวนา “มุ่งสู่เกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อรับมือกับวิกฤติสภาพภูมิอากาศ”

15.00-16.30

จัดโดย GRAIN, FOCUS

ผู้ร่วมเสวนา

  • “เกษตรกรรมอุตสาหกรรมและวิธีแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศแบบที่ไม่ฉลาดนัก” โดยอาฟซา จาฟรี (Afsar Jafri) อินโดนีเซีย จากองค์กร GRAIN
  • “การออมและอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ต้านทานภัยแล้งและน้ำท่วมแบบดั้งเดิมในฟิลิปปินส์” โดย คริส พาเนริโอ (Cris Panerio) องค์กร MASIPAG
  • อยู่กับวิกฤตภูมิอากาศด้วยเกษตรกรรมทางเลือก โดย สุภา ใยเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน


ผู้ดำเนินการเสวนา

คาทินี ซามอน (Kartini Samon) องค์กร GRAIN

วิดีโอจากเวทีนี้ https://youtu.be/28gjB4JD21g


ที่มา

วิถีเกษตรกรรมนั้นล้วนขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเพื่อการเกษตรอย่างเป็นองค์รวม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และแสงแดดล้วนส่งผลต่อสภาพพื้นที่การเพาะปลูก ปศุสัตว์ และแหล่งน้ำ ในขณะที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ทว่าแผนการรับมือเพื่อแก้ไขวิกฤติสภาพภูมิอากาศกลับล้มเหลวในวงกว้าง

แต่เนื่องจากสถานการณ์เร่งด่วน วิธีแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจนั้นกลับก่อให้เกิดการเข้าใจผิด พวกเขาไม่เพียงแต่ทำให้การแก้ไขไม่อยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง ตรงกันข้าม ผู้มีอำนาจยังทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาและมีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ปัญหาความยากจนไปจนถึงการสูญเสียสภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ซ้ำร้ายยังนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์ทางการเงินให้แก่ภาคธุรกิจที่มีอภิสิทธิพิเศษตลอดเส้นทางสายพานการผลิตของภาคเกษตรกรรม

หลังจากประสบกับผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศทั้งจากภัยแล้งไปจนถึงศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้น โดยพุ่งโจมตีไปยังผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มเกษตรกรพยายามพัฒนายุทธศาสตร์ของตนเองเพื่อต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ พวกเขาเองพยายามเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผล รวมไปถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และประเพณี ในวิถีเกษตรกรรม โดยวิธีการสำคัญคือเพื่อจัดการกับวิกฤตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ดังนั้น เราจึงต้องการค้นหาประสบการณ์และสำรวจความท้าทายของผู้คนในระบบเกษตรกรรม โดยมุ่งเน้นประเด็นระบบอาหารบนฐานเกษตรกรรมยั่งยืน (sustainable agriculture) นิเวศเกษตร(agroecology) และความหลากหลายทางชีวภาพ(biodiversity) จากหลากหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ประสบความสำเร็จ