24 กันยายน 2564
เวทีอภิปราย “ย้อนดูอาเซียน”
9.30 -11.00
ผู้จัด: สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน (MAEW)
ผู้ร่วมอภิปราย
- สิ่งที่คนอาเซียนกำลังเผชิญ โดย ปีเตอร์ คาลัง (Peter Kalang) องค์กร Save River มาเลเซีย
- ภูมิรัฐศาสตร์ในอาเซียน โดย ดร. วอลเดน เบลโล (Walden Bello) ผู้ร่วมก่อตั้ง Focus on the Global South และอดีตสมาชิกรัฐสภาฟิลิปปินส์
- ความยุติธรรมทางสังคม สิทธิ และสิทธิแรงงาน โดย อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- สถานการณ์คนรุ่นใหม่อาเซียน โดยกง โสมะนีเจียด (Kong Somonicheat) จากองค์กร Social Action for Community and Development กัมพูชา
ผู้ดำเนินการอภิปราย
เปรมฤดี ดาวเรือง โปรเจกต์เสวนา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดูวิดีโอของเวทีอภิปรายนี้ที่
เวทีอภิปราย “ประเด็นโลกสู่อาเซียน”
11.30-13.00
ผู้จัด: สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน (MAEW)
ผู้ร่วมอภิปราย
· “โควิด-19 ภัยคุกคามต่อชุมชนที่พึ่งพาป่าในอเมซอน: ผลกระทบและการดิ้นรน” โดย มาโนเอล เอดิวัลโด ซานโตส มาโตส (Manoel Edivaldo Santos Matos) ประธานสหภาพแรงงานเมืองซานตาเร็ม (Santarem) รัฐปารา อเมซอน ประเทศบราซิล (
แปลจากภาษาโปรตุกีสเป็นอังกฤษโดยวินนี โอเวอบีค (Winnie Overbeek) ผู้ประสานงานองค์กรป่าฝนโลก (World Rainforest Movement: WRM)
· วาทกรรม “เศรษฐกิจสีเขียว” (Green economy) โดยแลรี ลอแมน (Larry Lohmann) องค์กร The Corner House สหราชอาณาจักร
· เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) และบลูคาร์บอน (Blue Carbon) ผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น โดย ซูซาน โรมิกา (Susan H Romica) เลขาธิการองค์กรพันธมิตรประชาชนเพื่อความยุติธรรมประมง (KIARA) อินโดนีเซีย
ผู้ดำเนินการอภิปราย
ชาลมาลี กุตตัล โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (Focus on the Global South : FOCUS)
ชมวิดีโอของเวทีนี้ที่
ส่วนที่ 1: “อาเซียนกับโลก” เวทีอภิปราย “ประเด็นโลกสู่อาเซียน” วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564 - YouTube
หมอลำและหมอแคน “ประชาชนอาเซียน”
ศิลปิน: คณะหมอลำกู่แคน จังหวัดขอนแก่น
(ผลิตเพื่อ MAEW2021 โดยเฉพาะ)
ฟัง:
https://youtu.be/teke_PZmZ_k
เวทีอภิปราย “ภูมิภาคแม่น้ำโขงและอาเซียนหลังวิกฤตโควิด-19: มุมมองของพันธมิตร”
14.30-16.30
ผู้จัด: สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน (MAEW)
ผู้ร่วมอภิปราย
- มิเกล มัสซินกิ (Miguel
Musngi) เจ้าหน้าที่อาวุโส
แผนกขจัดความยากจนและเพศสภาพ (Poverty Eradication and Gender
Division) สำนักเลขาธิการอาเซียน
อินโดนีเซีย
- ดร.อุเมะซะวะ อากิมะ (Dr. Umezawa Akima) รัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ
- ทอม มูดี้ (Tom Moody) ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงาน สำนักงานเครือจักรภพและการพัฒนาต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร (FCDO) https://youtu.be/0-Q3At8WZWA
- อีวาน ฟอกซ์ (Evan Fox) เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา
ผู้ดำเนินการอภิปราย
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักวิจัยอิสระ
แนวคิด
ในฐานะภูมิภาคแห่งความหลากหลายทั้งในด้านวิถีชีวิต เจ้าของทรัพยากรธรรมชาติล้ำค่า และประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อพัฒนามาอย่างยาวนาน ภูมิภาคแม่น้ำโขงและอาเซียนเดินทางมาถึงทางแยกที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การระบาดครั้งใหญ่ของโควิด – 19 ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงกับวิถีชีวิตของคนทุกกลุ่มในสังคมและเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับรากหญ้าถึงภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญานเตือนสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องลงลึกถึงรากถึงโคนในการมองไปข้างหน้า การเตรียมการ และการทำงานเพื่อรับมือกับอนาคตที่ต้องเร่งทำตั้งแต่บัดนี้ การระบาดของโควิด – 19 เน้นย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอในระบบสาธารณสุขที่ไม่อาจรับมือและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ และในท่ามกลางวิกฤตการระบาดใหญ่นี้ ผู้คนยิ่งต้องการความมั่นคงด้านอาหารและทรัพยากรธรรมชาติที่มากขึ้นเพื่อจะสามารถเอาตัวรอดจากความท้าทายต่าง ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม แนวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคกลับยังมุ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อค้ำจุนเศรษฐกิจแบบตลาดเปิด ในขณะที่รัฐบาลส่วนใหญ่พยายามที่จะให้ประเทศทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าเกษตร ไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ และจากการขุดเจาะทรัพยากรของประเทศโดยแนวทางที่มีลักษณะของการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยกรธรรมชาติ ซึ่งได้กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาคอ่อนแอลง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดคำถามต่อนโยบายสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในทศวรรษที่ผ่านมาของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค
ซ้ำเติมจากปัญหาที่มีอยู่แล้ว ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ผ่านมา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเผชิญกับลัทธิอำนาจนิยมสุดโต่งที่พุ่งทะยานขึ้นเพิ่มขึ้น อันเป็นผลให้เกิดการผลักดันโครงการพัฒนาที่มีลักษณะทำลายล้างเพิ่มมากขึ้นโดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม โดยการประท้วงของประชาชนถูกจำกัดอย่างเข้มงวด สิ่งเหล่านี้สร้างความทุกข์ให้กับประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มภาคประชาชน ประชาสังคมผู้ที่พยายามผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย รัฐบาลอำนาจนิยมทั้งหลายยังใช้ประโยชน์จาก COVID-19 เพื่อเป็นเหตุผลในการปราบปราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในช่วงการระบาดใหญ่
วงสนทนานี้เป็นส่วนหนึ่งของช่วงเปิดงานในงาน MAEW 2021 ภายใต้ธีม ““Redesign ASEAN: Peoples' Voices in World Crises" ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 24-30 กันยายน 2021 โดยทั้งนี้วงสนทนาดังกล่าวจะเกิดขึ้นในบ่ายวันที่ 24 กันยายนซึ่งเป็นวันเปิดงาน อันเป็นช่วงแรกของงานภายใต้ธีมย่อยคือ “ASEAN and the World, today” (lead to the question ‘Why redesign ASEAN?’) โดยผู้จัดมีจุดประสงค์จะเชิญตัวแทนของรัฐบาลที่มีบทบาทในภูมิภาคเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในประเด็นที่ค่อนข้างเปิดกว้างตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ โดยเสนอให้มุ่งเน้นช่วงเวลาของสถานการณ์โควิด – 19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็นหลัก และเน้นการทบทวนบทเรียน การประเมินสถานการณ์ในอนาคต และข้อเสนอที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประชาชนของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะผู้อภิปรายจะกล่าวถึงสถานการณ์ในภูมิภาคโดยเน้นที่การตอบคำถามต่อไปนี้: การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ก่อให้เกิดบทเรียนอะไรต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบัน? ภูมิภาคควรพยายามทำงานร่วมกันระหว่างประเทศและประชาชนอย่างไร เพื่อทบทวนและหาแนวทางการฟื้นตัวอย่างแท้จริง ในลักษณะที่จะคงไว้ซึ่งความเข้มแข็งและความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชนและภูมิภาคในอนาคต ภูมิภาคควรทำงานร่วมกับพันธมิตรภายนอกเพื่อความมั่นคงที่ดีขึ้นและแข็งแกร่งยิ่งขึ้นอย่างไร และท้ายที่สุด ประสบการณ์จากภายนอกที่ภูมิภาคสามารถเรียนรู้ได้ จากทั้งแนวทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์เพื่อตอบโต้กับสถานการณ์โควิด-19 มีอะไรบ้าง
ชมเวทีจากเวทีอภิปรายนี้ที่ https://drive.google.com/file/d/1zwu7OCk9qDbFhaj-oDoFMiK-16vQmJWG/view?usp=sharing
สารคดี - “ผู้พิทักษ์สายน้ำ” (Guardians of the River)
ผลิตโดย: องค์กร American Rivers และ Swiftwater Films
เนื้อหา: เกี่ยวกับวิถีชีวิตคนพื้นเมืองริมแม่น้ำคลาแมท (Klamath) และโครงการรื้อถอนเขื่อนคลาแมทในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (2563)
อภิปรายเพิ่มเติม โดยบรูซ ชูเมกเกอร์ (Bruce Shoemaker) ผู้ประสานงานโครงการ Klamath ขององค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers)
ดูภาพยนตร์ https://youtu.be/e5lcP_9ateE