Menu

27 กันยายน 2564

เวทีอภิปราย “หลากรูปแบบของการแย่งยึดที่ดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

9.30-11.00

องค์กรร่วมจัด 

Equitable Cambodia, SUARAM (Malaysia), FOCUS, โปรเจกต์เสวนา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้    

ผู้ร่วมอภิปราย

  • พรพนา ก๊วยเจริญ กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน

  • สุเรช บาละสุบรามาเนียม (Suresh K. Balasubramaniam), People Before Profit (PBP), SUARAM, Malaysia
  • สอง ดานิก (Song Danik), นักวิจัยเรื่องที่ดินจาก Equitable Cambodia


ดำเนินการอภิปรายและให้ความเห็น

เอียง วุดที (Eang Vuthy), Equitable Cambodia

วิดีโอจากเวทีนี้ 

https://youtu.be/uD0EQELUbwI


เสวนา “สิทธิชนพื้นเมือง ป่าอนุรักษ์และมรดกโลก”

12.30-14.30

ผู้ร่วมจัด ภาคีบางกลอย ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, SUARAM Malaysia    

ผู้ร่วมเสวนา

  • พชร คำชำนาญ ภาคีบางกลอย https://youtu.be/JZbfRVn4w5Q
  • ซัมบัน ทูกุง (Samban Tugang) องค์กร Save River มาเลเซีย  
  • โสเจีย เพียบ (Sochea Pheap) สมาคมเยาวชนคนพื้นเมืองกัมพูชา (Cambodia Indigenous Youth Association : CIYA)  
  • ผศ.ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ซัมบัน ทูกุง (Samban Tugang) องค์กร Save River มาเลเซีย


ดำเนินการเสวนาและให้ความเห็น

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม    

วิดีโอจากเวทีนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=JZbfRVn4w5Q

ที่มา

ป่าแก่งกระจาน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ท่ามกลางเสียงร้องขอทั้งจากชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน และข้อเสนอของคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNHCR) ที่ขอให้เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนออกไปอีก เพราะชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ยังคงตกเป็นเป้าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่อย่างต่อเนื่อง ชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงในป่าแก่งกระจานในบริเวณที่เรียกว่า “ใจแผ่นดิน” และ “บางกลอย” เป็นชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่มานานนับ 100 ปี ตามหลักฐานที่ปรากฎในแผนที่ของกรมแผนที่ทหาร พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ใกล้กับชายแดนพม่า หรือก่อนมีกฎหมายป่าไม้ฉบับแรก 30 ปี และก่อนจะมีการประกาศอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 70 ปี

วิถีชีวิตการทำไร่หมุนเวียนของพวกเขาถูกตีตราว่าเป็นสาเหตุของการทำลายป่า ทั้งยังถูกกล่าวหาว่าค้ายาเสพติดและเป็นภัยต่อความมั่นคง อันเป็นสาเหตุที่หน่วยงานของรัฐกล่าวอ้างเพื่ออพยพพวกเขาลงมาอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถดำรงชีวิตแบบเดิมได้ พวกเขาทั้งถูกหลอกและบังคับให้อพยพออกจากแผ่นดินเกิดและมีการเผาทำลายบ้านเรือนและยุ้งข้าว เพื่อให้พวกเขาละทิ้งผืนป่ามาอยู่ในผืนดินที่ทำกินไม่ได้ ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีวิตด้วยการรับจ้างในเมือง และมีชีวิตอยู่ด้วยความทุกข์ยากขาดแคลน เมื่อมีผู้นำออกมาเคลื่อนไหวร้องเรียนก็ถูกอุ้มหาย

ล่าสุด เมื่อเกิดสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 หนทางเลี้ยงชีวิตจากการรับจ้างแรงงานถูกปิดลง ต้นปี 2564 ชาวกะเหรี่ยง 80 กว่าชีวิต รวมคนแก่ ผู้หญิง และเด็กๆ จึงตัดสินใจกลับไปทำไร่หมุนเวียนที่ผืนแผ่นดินเดิมที่เคยอาศัยอยู่ ในที่สุดในจำนวนนั้น 28 คน ถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาบุกรุกทำลายป่า ซึ่งรวมทั้งผู้หญิงที่เป็นแม่ลูกอ่อน และเยาวชนด้วย

ในขณะที่รัฐปฎิเสธการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงในป่าแก่งกระจาน และไม่ยอมรับการมีอยู่ของชนพื้นเมือง และดำเนินการทุกวิถีทางรวมถึงการล็อบบี้ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกให้ความเห็นชอบการขึ้นทะเบียนป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ

ประเด็นปัญหากระเหรี่ยงแก่งกระจาน เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการเสวนาออนไลน์ “สิทธิชนพื้นเมือง VS ป่าอนุรักษ์และมรดกโลก” ในงานสัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียนในเดือนกันยายน 2564 นี้ โดยในเวทีดังกล่าว จะมีผู้ร่วมเสวนาจากภาคีเซฟบางกลอย ตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองในภูมิภาคอาเซียน และนักวิชาการที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวประเด็นสิทธิชาติพันธุ์และชนพื้นเมือง เพื่อทำให้ประเด็นสิทธิชนพื้นเมืองและปัญหาของประชาชนที่เป็นชนเผ่าในภูมิภาคได้รับการพูดถึงอย่างเด่นชัดขึ้นทั้งในประเทศไทยและระดับภูมิภาค

 

เสวนา “ออกแบบใหม่เขตเศรษฐกิจพิเศษ: ข้อเสนอของประชาชน”

15.00-16.30

ผู้ร่วมจัด กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC Watch), เครือข่ายจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai)

ผู้ร่วมเสวนา

  • สมนึก จงมีวศิน กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
  •   ผศ.ดร.กนกวรรณ มโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
  • อัน รามา (An Rama), ศูนย์พันธมิตรแรงงานและสิทธิมนุษยชน (Center for Alliance of Labor and Human Rights : CENTRAL) กัมพูชา


ดำเนินการเสวนาและให้ความเห็น

ผศ. ดร. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ)

วีดีโอจากเวทีนี้ 

https://youtu.be/Rg_XS6uerQg


ที่มา

ชุมชนและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษกำลังถูกซ้ำเติมจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ที่มีความรุนแรงไปทั่วภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ ปรากฎการณ์ด้านความเหลื่อมล้ำฉายภาพให้เห็นอย่างชัดแจ้ง โดยเฉพาะผู้คนด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยทุนขนาดใหญ่กลับยังคงเดินหน้าไม่หยุด แม้ว่าจะมีวิกฤตของโควิดอยู่ในทุกประเทศ

พวกเราในนามภาคประชาชนเห็นว่า จำเป็นต้องที่จะต้องมีการออกแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ บนหลักการที่ว่า ปัญหาเก่าต้องมีการแก้ไขให้หมดสิ้น ไม่สร้างปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นอีก และทุกภาคส่วนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

การออกแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ จะต้องมีการออกแบบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปถึงขั้นรูปแบบความคิดการพัฒนาใหม่ (Mental Model) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ คือ การเปลี่ยนรูปแบบ (Model Change) จากระบบเศรษฐกิจที่สร้างปัญหาในแบบเดิม (Neoliberal Economy) ไปสู่ระบบเศรษฐกิจฟื้นฟู (Recovery Economy)  และค้นหาหนทางการพัฒนาต่อยอดไปสู่ระบบเศรษฐกิจเกื้อกูล (Supportive Economy) โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ ผ่านการใช้กระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment, SEA) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างมีความหมาย (Meaningful Public Participation) เป็นการเน้นการพัฒนาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ ฐานทรัพยากร และระบบนิเวศวัฒนธรรมของพื้นที่  ซึ่งระบบเศรษฐกิจเกื้อกูลจะมุ่งเน้นภาคปฏิบัติของระบบเศรษฐกิจที่เป็นการกระจาย มีความเป็นธรรม เกิดการเติบโต และมีความยั่งยืนไปพร้อมๆกัน ให้กับทุกภาคส่วน ทั้งประชาชนในปัจจุบัน (Intrageneration) และประชาชนในอนาคต  (Intergeneration)  โดยมีองค์ประกอบหลักที่จำเป็นรวม 4 ส่วน ได้แก่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับภูมิศาสตร์และระบบนิเวศ  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบทางเศรษฐกิจ  การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน  และการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะสมของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและเป้าหมายที่มุ่งหวังโดยเน้นการใช้ฐานทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป

ที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ได้พยายามต่อสู้ รวมกลุ่มกันต่อรอง และเรียกร้องต่อรัฐ เพื่อสร้างหลักประกันด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งเกิดขึ้นในบริบทที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตลอดเวลาเฉพาะในช่วง 1 ปีกว่าที่ผ่านมา ทั้งจากปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองที่เกิดขึ้น

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะได้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนในการประชุม “ออกแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่: ข้อเสนอและความเป็นไปได้” เพื่อย้อนทวนดูประวัติศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจในภูมิภาค การต่อสู้เคลื่อนไหวของภาคประชาชน ข้อเสนอ รวมถึงอนาคตที่เป็นไปได้ของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในช่วงระหว่างและหลังการระบาดของโควิด – 19 ในภูมิภาค