Menu

29 กันยายน 2564

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ธรรมาภิบาล ความเสมอภาค และความยั่งยืนของภาคธุรกิจไฟฟ้าไทย: จากปัญหาสู่แนวทางแก้ไข”

9.00-12.00

ผู้ร่วมจัด เครือข่ายพลังงานและนิเวศวิทยาในภูมิภาคแม่น้ำโขง (MEENet)

เครือข่ายประชาชนจับตาการลงทุนในเขื่อนลาว (LDIM)

     

วิทยากร

  • ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน https://youtu.be/f2v0WabjGl4
  • ดร.โสภิตสุดา ทองโสภิต  ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์และระบบการจัดเก็บพลังงาน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (อดีตนักวิจัยที่สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนพลังงานอาวุโสที่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)  https://youtu.be/p9rYH3tpxyU
  • สันติ โชคชัยชำนาญกิจ กลุ่มจับตาพลังงาน https://youtu.be/JwajOvyEnjo


ผู้ให้ความเห็น

  • สารี อ๋องสมหวัง สภาองค์กรของผู้บริโภค
  • สฤณี อาชวานันทกุล บริษัทป่าสาละ จำกัด

https://youtu.be/UZS5iM50Ga0

ดำเนินการและให้ความเห็นเพิ่มเติม

วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เครือข่ายพลังงานและนิเวศวิทยาในภูมิภาคแม่น้ำโขง (MEENet)  https://youtu.be/RC8Z-BUEq-8

 วิดีโอจากเวทีนี้

https://drive.google.com/file/d/1eQHbi-iLpOzCRL5oHfVJb6gkCibi6onV/view?usp=sharing

https://youtu.be/1ag0hQQoBVM


ที่มา

ภายใต้ระบบผลิตไฟฟ้า (Generation system) ที่เน้นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า และ ระบบจัดส่งไฟฟ้า (Transmission system) ที่รวมศูนย์และกึ่งผูกขาดโดยรัฐ ได้ถูกตั้งคำถามด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนมาโดยตลอด ปัจจุบันกำลังถูกท้าทายจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี (Technology Disruptions) และวิกฤตสภาพภูมิอากาhttps://drive.google.com/file/d/1bK9L9oTmVP33SQ9k3EyG5czHuMc_Ed9t/view?usp=sharingศ (Climate Crisis) กระแสเรียกร้องให้มีการปฎิรูประบบไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก อนาคตของระบบไฟฟ้าไทยและอาซียนจะเป็นอย่างไร รวมศูนย์และผูกขาด หรือกระจายอำนาจและยืดหยุ่น? อะไรคือทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคต มุ่งสู่ดิจิตัลเทคโนโลยี เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน แบตเตอรี่และระบบการจัดการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และการเกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยน (Online Platform) ของผู้บริโภคที่เป็นผู้ผลิตด้วย (Prosumer) และอำนาจต่อรองของผู้บริโภคจะมีส่วนช่วยสร้างระบบที่เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร?

ฟังการวิเคราะเชิงกระบวนทัศน์ และข้อเสนอรูปธรรมในการปฎิรูประบบไฟฟ้า ตลอดจนยุทธศาสตร์ใหม่ในการขับเคลื่อน โดยวิทยากรผู้ตั้งคำถามต่อโครงสร้างระบบไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ผูกขาด ต่อกรอบคิดและกระบวนการในการวางแผนพัฒนาไฟฟ้า (PDP) และเคลื่อนไหวผลักดันเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านความคิดและนโยบายไฟฟ้าที่มีความเป็นธรรมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากว่าสามทศวรรษ รวมทั้งแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญในวงการพลังงานและผู้บริโภ

อภิปราย “คดียุทธศาสตร์ต่อต้านการมีส่วนร่วมของประชาชน [SLAPP] ต่อนักข่าวสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” 

13.00-15.00

ผู้ร่วมจัด มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม(TSEJ)/ GreenNews/Forum Asia/Business and Human Right Resource Center /Decode/Backpack Journalist

ผู้อภิปราย

  • โพชอย พี. ลาบ็อก (Pochoy P. Labog) ศูนย์ทรัพยากรธุรกิจและสิทธิมนุษยชน 
  •  วิไลวรรณ จงวิไลเกษม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  •  ปรัชญ์ รุจิวนารมย์, สำนักข่าวบางกอกโพสต์, ไทย  
  • เอ็ดวิน ไอโย (Edwin Iyo) สำนักข่าว Gold Star Daily ฟิลิปปินส์
  • เดียนานตา ปุตรา สุเมดี้ (Diananta Putra Sumedi), Aji Balikpapun Biro Banjarmasin อินโดนีเซีย
  • อเลฆันโดร กอนซาเลซ เดวิดสัน (Alejandro Gonzalez Davidson), องค์กร Mother Nature Cambodia, กัมพูชา  
  • วายุ ธยัตมิกาม (Wahyu Dhyatmika)Tempo Magazine, อินโดนีเซีย


ดำเนินรายการ

จิราพร คูหากาญ สำนักข่าวรอยเตอร์

วิดีโอจากเวทีนี้ 

https://youtu.be/R63bP6f2F9E


    แนวคิด

    แม้กฎหมายรัฐธรรมนูญรวมถึงพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีอยู่จะรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน แต่ที่ผ่านมายังพบว่าสื่อมวลชน รวมถึงภาคประชาชนสังคม ยังคงมีอุปสรรคในการนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากการถูก SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือที่เรียกว่า “การฟ้องคดีเพื่อปิดปาก” หรือ “การแกล้งฟ้อง”

    โดยทั่วไป เมื่อผู้คนไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกดำเนินคดี ก็จะก่อให้เกิด “ภาวะชะงักงัน” (chilling effect) คดีประเภทนี้จะแตกต่างจากคดีทั่วๆไป ตรงที่ผู้ฟ้องได้ฟ้องคดีเพื่อขู่อีกฝ่ายให้กลัวหรือทำให้เกิดภาระมากมายจนหยุดการกระทำ หรือแกล้งขัดขวางยับยั้งการใช้สิทธิเสรีภาพของอีกฝ่าย โดยการฟ้องมิได้คาดหวังผลเพื่อชนะคดีตามฟ้องแต่อย่างใด สถานการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นทั่วไปในภูมิภาคอาเซียน จนในประเทศฟิลิปินส์มีการออกกฎหมาย Anti-SLAPP ส่วนในประเทศไทยก็มีความพยายามแก้ไขกฎหมายเพื่อต่อต้านการฟ้องคดีปิดปาก เช่นกัน

    ด้วยความตระหนักถึงสถานการณ์ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน และเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม การเสวนาออนไลน์ “SLAPP ฟ้องคดีเพื่อปิดปากในภูมิภาคอาเซียน” จะจัดขึ้นในงานสัปดาห์สิ่งแวดล้อม แม่โขง-อาเซียน วันพุธที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 13.00-15.00 น. เพื่อชี้ให้เห็นสภาพปัญหา การรับมือสถานการณ์ SLAPP ที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต และแนวทางการจัดการของแต่ละประเทศในอาเซียน

    อภิปราย “สู้ด้วยกฎหมาย: ประสบการณ์ของนักกฎหมายในภูมิภาคเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม”

    15.30-17.00

    ผู้ร่วมจัด มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน(CRC) เละเครือข่ายนักกฎหมายในภูมิภาค

    ผู้ร่วมอภิปราย

    • กริเซลดา มาโย-อันดา (Grizelda Mayo–Anda) ศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม (ELAC) ฟิลิปปินส์
    • อาเสป โกมารุดิน (Asep Komarudin) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย
    • เจสสิก้า ราม บินวานี (Jessica Ram Binwani) สหบัต อาลัม มาเลเซีย (Sahabat Alam Malaysia [SAM - Friends of the Earth Malaysia])
    • ชาร์ลส์ เฮคเตอร์ (Charles Hector) ทนายความ มาเลเซีย
    • ส.รัตนมณี พลกล้า มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)


    ผู้ดำเนินการ

    เฟบีโอ เนสต้า (Febio Nesta) SEAPIL

    วิดีโอจากเวทีนี้ 

    https://youtu.be/Qhy6xB5vWy0

    X