28 กันยายน 2564
เสวนา “มลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ข้อเท็จจริงและทางแก้”
9.30-11.00
ผู้ร่วมจัด ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD), Project SEVANA South-East Asia
ผู้ร่วมเสวนา
- ธารา บัวคำศรี กรีนพีซประเทศไทย
- วายู เพอดานา (Wahyu Perdana) องค์กร
Walhi (Friend of the Earth Indonesia
- ชาลมิลา อารีฟฟิน (Shamila Ariffin) องค์กร Sahabat Alam Malaysia (SAM)
ดำเนินการเสวนาและให้ความเห็น
เกียว เจีย เยา (Kiu Jia Yaw) คณะกรรมการนักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาเลเซีย
วิดีโอจากเวทีนี้
เสวนา “ผลกระทบของข้อตกลงและนโยบายทางการค้าต่ออธิปไตยทางอาหารในอาเซียน”
11.30-13.00
ผู้ร่วมจัด FOCUS on the Global South, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, GRAIN
ผู้ร่วมเสวนา
- “การรณรงค์ CPTPP เมื่อเมล็ดพันธ์ตกอยู่ในมือภาคธุรกิจ : สถานการณ์ในประเทศไทย” โดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ องค์กร BioThai/FTA Watch
- “FTA และประมวลกฎหมาย (Omnibus Law) ที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงทรัพยากรการเกษตรของสตรีในอินโดนีเซีย” โดย อริสกา กุรเนียวาตี (Arieska Kurniawati) องค์กร Solidaritas Perempuan อินโดนีเซีย
- FTA จีน/กัมพูชา โดย รส โสกุลธี (Ros Sokunthy) โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (FOCUS on the Global South: FOCUS)
ดำเนินการเสวนา
โจเซฟ พูรูกานัน (Jaseph Puruganun), FOCUS
วิดีโอจากเวทีนี้
ที่มา
ดูเหมือนว่าสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรค COVID-19 จะไม่สามารถหยุดยั้งรัฐบาลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบริษัทต่าง ๆ ให้เลิกล้มความตั้งใจในการผลักดันการเปิดเสรีทางการค้า ตรงกันข้าม กลับมีการลงนามข้อตกลงทางการค้าที่สำคัญหลายข้อตกลงในช่วงสถานการณ์โรคระบาด โดยใช้ประโยชน์จากข้อจำกัดในช่วงการระบาดใหญ่ครั้งนี้เพื่อแทรกแซงและจำกัดการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในวงกว้างไม่ให้เกิดขึ้นได้
หลังจาก 8 ปีของการเจรจาต่อรองว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (The Regional Comprehensive Economic Partnership) หรือ RCEP จนได้ข้อสรุปและเกิดการลงนามโดย 15 ประเทศสมาชิกในเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา จากการประเมินของ United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD ระบุว่า RCEP จะเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจหลังเกิดวิกฤติโรคระบาด การออกกฎระเบียบที่เข้มงวดภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว จะส่งผลให้ประเทศต่างๆ ปรับตัวเข้าหาความเป็นจริงได้ยากขึ้นในช่วงเวลาหลังจากเกิดโรคระบาด ในขณะเดียวกัน ข้อตกลงทางการค้าอื่น ๆ อีกหลายฉบับ ยังคงมีการเจรจาต่อรองกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกับคู่ค้าของตนต่อไปโดยมิได้ใยดีต่อข้อห่วงกังวลของภาคประชาสังคมในเรื่องวิกฤตอาหารและสุขภาพของผู้คน
การตัดสินใจของรัฐบาลไทยในการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) หรือ CPTPP ได้นำไปสู่การประท้วงขึ้นทั่วประเทศ นำโดยกลุ่มเกษตรกรและภาคประชาสังคม ผู้ประท้วงมีข้อห่วงกังวลต่อเงื่อนไขใน CPTPP ที่บังคับให้ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหภาพนานาชาติเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) หรือ UPOV กล่าวคือ เกษตรกรไทยต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการที่พวกเขาจะต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์อุตสาหกรรม UPOV การครอบครองเมล็ดพันธ์จะทำให้เกษตรกรตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองอย่างผิดกฎหมาย เกษตรกรจะมีความผิดทางอาญาหากพวกเขาเก็บรักษาและนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองนั้นมาใช้ในภาคเกษตรกรรม สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ประเทศดำเนินตามข้อตกลงทางการค้ากับประเทศในแถบยุโรป อันทำให้เกิดปัญหาเกษตรกรมีความเสี่ยงต่อการถูกริดรอนสิทธิในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ ทั้งในส่วนของปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมประมง
เวทีแลกเปลี่ยน “ผลกระทบของข้อตกลงและนโยบายทางการค้าต่ออธิปไตยทางอาหารในอาเซียน” นี้จะตรวจสอบข้อตกลงทางการค้าและนโยบายที่ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังเจรจาหรือลงนาม รวมทั้งการเผชิญความท้าทายต่ออำนาจอธิปไตยทางอาหารในอาเซียน และเกี่ยวกับการริเริ่มโดยชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมในการปกป้องสิทธิของชาวนา ชุมชนพื้นเมือง ชาวประมง ผู้ผลิตอาหารรายย่อย และตลาดในท้องถิ่นซึ่งต่อต้านการแปรรูปและการเปิดการค้าเสรี
เสวนา “เธอทำลาย ฉันเยียวยา: บทบาทของประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำโขงในการฟื้นฟูนิเวศที่ถูกทำลายโดยโครงการเขื่อน”
14.00-16.00
ผู้ร่วมจัด กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง, เครือข่ายชุมชนแม่น้ำโขง
ผู้ร่วมเสวนา
- คุณอัสนัย สระสูงเนิน WWF ประเทศไทย WWF ประเทศไทย
- คุณวิมลจันทร์ ติยะบุตร ตัวแทนจากบ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม https://youtu.be/GmXfptUfsgc
- คุณอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ผู้ประสานงานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) https://youtu.be/JFjBLJ4bxgg
- มัก สิทธิริด (Mak Sithirith) โปรแกรมธรรมาภิบาลน้ำลุ่มน้ำโขง (Mekong Water Governance Program) องค์กร Oxfam International
- ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ อาจารย์ประจำสาขาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ดำเนินการเสวนา
ดร.กฤษฎา บุญชัย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
วิดีโอจากเวทีนี้
แนวคิด
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่าน 6 ประเทศ จากที่ราบสูงธิเบตจนถึงปากแม่น้ำในเวียดนาม ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงจึงสลับซับซ้อนและมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงมาก จากความหลากหลายของสรรพชีวิตนี้เอง แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงผู้คนนับล้านให้มีวิถีวัฒนธรรมเฉพาะตัว และมีความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะในแม่น้ำโขงตอนล่าง ผ่านการทำประมง (แหล่งประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก) การเกษตร และเป็นแหล่งอาหารจากความอุดมสมบูรณ์ของตะกอนแร่ธาตุ เป็นดังเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประชากรตามเส้นทางน้ำที่ไหลผ่าน และหนึ่งในระบบนิเวศเฉพาะที่สำคัญอย่างยิ่งคือ พื้นที่ป่าชุ่มน้ำของแม่น้ำโขง ที่เป็นแหล่งน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์วัยอ่อน แหล่งอาหารและวัตถุดิบ แหล่งสร้างอากาศบริสุทธิ์ และยังพบพันธุ์สัตว์หายากเฉพาะถิ่นมากมาย ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของแม่น้ำโขงแห่งหนึ่งคือ โตนเลสาป ในกัมพูชา ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร และครอบคลุมพื้นที่ถึง 5 จังหวัดของกัมพูชา โตนเลสาปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำหรับสัตว์น้ำและสัตว์ป่ากว่า 300 ชนิด ซึ่งในปี 2018 สะตึงเซน (Stung Sen) พื้นที่ชุ่มน้ำชายขอบโตนเลสาปได้รับการขึ้นทะเบียนในแรมซาร์ไซต์ ในฐานะพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ
ในประเทศไทยมีแหล่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญคือแม่น้ำสงคราม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโตนเลสาปน้อย (little Tonle Sap) ในความหมายที่สื่อถึงพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมาก ในฤดูน้ำหลากบริเวณน้ำสงครามจะกลายสภาพเป็นผืนทะเลสาบน้ำจืดกว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 600,000 ไร่ ทำให้ลุ่มน้ำสงครามตอนล่างมีเอกลักษณ์เฉพาะทางธรรมชาติ คือ มีป่าชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่ตามที่ราบน้ำท่วมถึงริมแม่น้ำและห้วยสาขา ซึ่งชุมชนท้องถิ่นเรียกพื้นที่นี้ว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ (Flood Forest) ปัจจุบันลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ลำดับที่ 2,420 ของโลก และลำดับที่ 15 ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามระบบนิเวศในแม่น้ำโขงต้องสั่นคลอนเมื่อต้องรับมือกับโครงการขนาดใหญ่ เช่นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ที่ตั้งต้นตั้งแต่ในประเทศจีน จนถึงกัมพูชา และกำลังมีเขื่อนที่อยู่ในแผนการสร้างอีกจำนวนมาก ปัจจุบันผลกระทบจากเขื่อนในแม่น้ำโขงเห็นเป็นที่ประจักษ์ ทั้งภาวะน้ำขึ้น-ลงผิดฤดูกาล ภัยแล้งอย่างหนักที่ทำให้น้ำในโตนเลสาบแห้งขอด ตะกอนแร่ธาตุหายไปกระทบตลิ่งตลอดแนวแม่น้ำโขงที่ต้องพังทลาย โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในเวียดนาม ที่น่าตกใจคือ ในขณะที่ผลกระทบจากเขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลักที่คุกคามระบบนิเวศยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่ในประเทศไทยเองภาครัฐกลับรื้อฟื้น โครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำสงคราม โดย สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ถึง 2 แห่ง คือ บริเวณปากแม่น้ำสงคราม และแม่น้ำสงครามตอนกลางห่างจากปากแม่น้ำสงครามประมาณ 135 กิโลเมตร ซึ่งโครงการเขื่อนกั้นน้ำสงคราม จะทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่วมพื้นที่บุ่งทามครอบคลุม 2 จังหวัดคือ นครพนม และสกลนคร อันเป็นพื้นที่สำคัญมากที่สุดของวงจรชีวิตปลาที่อพยพจากแม่น้ำโขงเพื่อเข้ามาผสมพันธุ์ วางไข่ และเป็นที่เติบโตของปลาวัยอ่อน เปรียบได้กับเป็นมดลูกของแม่น้ำโขง
การเสวนาในครั้งนี้จึงต้องการฉายภาพบทบาทและแนวคิดของประชาชนและกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่อยู่อาศัยในพื้นที่และพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ
จากตัวแทนประชาชนในพื้นที่อนุรักษ์ คือบ้านสามผง
ซึ่งแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศด้วยการอนุรักษณ์ฟื้นฟูโดยไม่รบกวนระบบนิเวศโดยรวม
และการทำงานของภาคประชาสังคมในพื้นที่โตนเลสาบ ที่ต้องรับมือกับผลกระทบจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ
ซึ่งทั้งแม่น้ำสงครามและโตนเลสาบเป็นสองพื้นที่แหล่งชุ่มน้ำสำคัญของลุ่มน้ำโขง เพื่อให้เห็นความแตกต่างทางแนวคิดเรื่องการพัฒนาระหว่างภาคประชาชน
และภาครัฐ ทั้งรัฐในระดับประเทศ และรัฐในระดับภูมิภาค ที่อำนวยความสะดวกให้โครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในนามของการอนุรักษ์และฟื้นฟูเช่นเดียวกัน
โดยหวังว่าจะช่วยสะท้อนว่าเป้าหมายและผลที่เกิดขึ้นของทั้งสองฝ่ายนี้นั้นแตกต่างกันอย่างมาก
เพื่อชวน “คิดและออกแบบ